มีหัวใจบนดาวพลูโต
ดาวพลูโตถูกค้นพบเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 1930 โดย ไคลด์ วิลเลียม ทอมบอ (Clyde William Tombaugh) นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน และเราได้ถือว่าดาวพลูโตเป็นหนึ่งในระบบสุริยะ จัดเป็นดาวเคราะห์เล็กและไกลจากดวงอาทิตย์มากที่สุด แต่เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2006 ที่ประชุมสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล (IAU) ที่กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก ซึ่งมีนักวิทยาศาสตร์กว่า 2,500 คน จาก 75 ประเทศทั่วโลก ได้มีการโหวตสถานภาพของดาวพลูโตอยู่ในกลุ่มของดาวเคราะห์แคระ ทำให้ระบบสุริยะเหลือดาวเคราะห์เพียง 8 ดวง เหตุที่นักดาราศาสตร์ต้องโหวตให้เป็นดาวเคราะห์แคระเนื่องจากมีการตั้งข้อกำหนดในการเป็นดาวเคราะห์อยู่ 3 ข้อ ซึ่งพลูโตไม่ผ่านหนึ่งในนั้น และ ในภายหลังมานี้นักดาราศาสตร์ได้มีการค้นพบดาวเคราะห์แคระอีกหลายดวง หากยอมให้พลูโตเป็นดาวเคราะห์ ก็จะต้องยอมให้ดาวดวงอื่นเป็นดาวเคราะห์เช่นกัน ซึ่งนั่นจะทำให้ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะเพิ่มขึ้นหลายดวง
อย่างไรก็ตาม ก่อนจะมีการถอดยศดาวพลูโตออก NASA ก็ได้สร้างและส่งยานอวกาศ New Horizon ออกไปเพื่อสำรวจและถ่ายภาพดาวพลูโตแล้ว ตั้งแต่ 19 มกราคม 2006 และมันต้องใช้เวลาเดินทางกว่า 9 ปี เพื่อจะไปให้ถึงดาวพลูโต จนกระทั่ง เมื่อวันที่ 14 กรกฏาคม 2015 ที่ผ่านมา ผู้คนทั่วโลกต่างเฝ้ารออย่างใจจดใจจ่อกับภารกิจของยาน New Horizon ลำนี้ ที่จะบินผ่านดาวพลูโตแล้วทำการถ่ายภาพด้วยเซ็นเซอร์หลายแบบที่มีอยู่บนตัวมัน ความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นของนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรที่สำนักงานใหญ่ใน เมือง Laurel รัฐ Maryland ทุกคนลุ้นและรอคอยสัญญาณจะส่งข้อมูลมา เพราะเมื่อถ่ายเสร็จกว่าที่เราจะได้รับสัญญาณของมันครั้งแรกก็ยังต้องรอถึง 4 ชั่วโมง และแล้วก็ทุกคนก็รู้สึกโล่งอกหลังจากที่ได้รับสัญญาณเมื่อเวลา 01:52 (BST) ตามเวลาของประเทศอังกฤษ ภารกิจครั้งนี้ถือว่าเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์โลกครั้งใหม่ที่ยานอวกาศ New Horizon ได้เดินทางผ่านดาวพลูโตและได้ถ่ายภาพดาวพลูโตในระยะที่ใกล้ที่สุดส่งกลับมาบนโลก สัญญาณที่ได้รับจากยานอวกาสนี้ถูกส่งผ่านมายังเครื่องรับสัญญาณขนาดยักษ์ที่ตั้งอยู่ที่เมือง Madrid ประเทศสเปน
ผู้อำนวยการสูงสุดของ NASA "Charles Bolden" ได้กล่าวว่า “ในภารกิจนี้ ทำให้เราได้ไปเยือนดาวเคราะห์ทุกดวงในระบบสุริยะได้แล้ว”
ตอนนี้การสำรวจของยานอวกาศ New Horizon ได้บินผ่านดาวพลูโตสำเร็จและได้ยืนยันกับนาซ่าเป็นที่เรียบร้อย เพียงไม่กี่ภาพถ่ายจาก New Horizonที่ได้ถูกปล่อยออกมา นักวิทยาศาสตร์ต่างๆ ได้เรียนรู้เพิ่มเติมมากมายจากรูปภาพเหล่านี้มากกว่าการสังเกตเป็นปีๆ จากกล้องโทรทัศน์เหมือนแต่ก่อน
หัวใจของดาวพลูโตมีที่มาจากไหน?
กว่า 60 ปี กลุ่มนักวิทยาศาสตร์รู้ว่ามันมีมวลสารบางอย่างส่องสว่างออกมาจากดาวพลูโต แต่หลังจาก New Horizon ได้เดินทางผ่านดาวพลูโตนั้น จากการบันทึกจากกล้องของ New Horizon ได้อธิบายรายละเอียดเพิ่มเติมว่ามวลสารที่มีแสงสว่างออกมานั้นมีรูปร่างเป็นรูปหัวใจ รูปหัวใจที่ว่านี้ได้รับความสนใจจากสื่อมากทีเดียว โดยเชื่อว่ารูปร่างนี้มันมีสาเหตุที่มาจากผลกระทบบางอย่างจากประวัติศาสตร์ หัวใจฝั่งหนึ่งจะดูเรียบเนียนกว่าอีกฝั่งหนึ่ง
นักวิจัยเชื่อว่ามันเป็นแอ่งบนพื้นผิวของดาวเคราะห์ที่เต็มไปด้วยก๊าซแช่แข็งจากชั้นบรรยากาศ ได้แก่ ก๊าซ nitrogen methane และ carbon dioxide แต่อย่างไรก็ตามสีบนรูปภาพที่นาซาได้ทำการแต่งขึ้นมาชี้ให้เห็นว่ารูปหัวใจบนดาวพลูโตนี้ถูกแบ่งออกเป็นสองข้าง สีในรูปแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของสัญลักษณ์ทางเคมีที่แตกต่างกัน สีข้างซ้ายเป็นสีครีม ในขณะที่ด้านขวาเป็นสีฟ้าลายโมเสก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าทั้งสองส่วนมีต้นกำเนิดทางธรณีวิทยาหรือเปลืองโลกที่แตกต่างกัน
และดาวพลูโตเป็นดาวเคราะห์สีแดงหรือไม่ ?
รูปภาพในเบื้องต้นที่นาซาได้ปล่อยออกมามีสีแดง เป็นสีที่เหล่านักวิทยาศาสตร์ต่างก็รู้อยู่แล้ว แต่มันแตกต่างจากดาวเคราะห์สีแดงดวงอื่นๆมาก (อย่างดาวอังคาร) สีแดงของดาวพลูโตนี้มีแนวโน้มว่าจะเกิดจากโมเลกุลไฮโดรคาร์บอนที่เรียกว่า tholins ที่เกิดจากแสงอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์และรังสีคอสมิกมีปฏิสัมพันธ์กับก๊าซมีเทนในชั้นบรรยากาศและบนพื้นผิวของดาวพลูโต
“กระบวนการของการเกิดสีแดงบนดาวพลูโตนั้นจะเกิดขึ้นทางฝั่งที่เป็นกลางคืนเท่านั้น ที่ไม่มีแสงแดดจากดวงอาทิตย์ส่องถึง รวมถึงในฤดูหนาวที่พระอาทิตย์อยู่ต่ำกว่าเส้นขอบฟ้ามานานหลายทศวรรษ” ตามที่ Michael Summers กล่าว
ขนาดของดาวพลูโตนั้นสำคัญหรือไม่ ?
New Horizon ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับขนาดและขอบเขตของดาวพลูโตได้ถูกต้องมากขึ้น มันมีขนาดที่ใหญ่กว่านิดหน่อยจากที่ได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ประมาณ 80 กม. ทำให้มันมีขนาดถึง 2ใน3 ของดวงจันทร์ของโลก ขนาดที่เพิ่มขึ้น หมายความว่า พื้นผิวบนดาวพลูโตมีเปอร์เซ็นที่จะเกิดจากน้ำแข็งมากกว่าที่จะเกิดจากหิน ตามที่สมาชิกในทีมภารกิจนี้ได้กล่าวไว้
การจัดประเภทของดาวพลูโตใหม่ นั้นหมายความว่าดาวพลูโตในขณะนี้มีขนาดใหญ่กว่าดาวเคราะห์แคระ Eris ซึ่งเป็นหนึ่งในหลายร้อย หลายพันของดาวเคราะห์ขนาดเล็กและเป็นวัตถุคล้ายดาวหางโคจรห่างออกไปจากดาวเนปจูนในเขตที่เรียกว่า แถบ Kuiper
ยังมีการเคลื่อนไหวทางธรณีวิทยาบนดาวพลูโตหรือไม่?
การขาดข้อมูลของผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับแอ่งบนพื้นผิวบนดาวพลูโตที่ได้เห็นในรูปภาพรูปแรกชี้ให้เห็นว่าพื้นผิวของดาวเคราะห์แคระดวงนี้อาจเกิดขึ้นมาใหม่ ไม่ก็เกิดจากการเคลื่อนไหวทางธรณีวิทยาหรือเกิดจากการกระทำของชั้นบรรยากาศก็ได้ เช่น การกัดกร่อน เป็นต้น
หัวหน้าของภารกิจครั้งนี้ อย่าง Alan Stern ได้กล่าวว่า มันมีหลักฐานของ การเคลื่อนไหวทางธรณีวิทยา บนดาวพลูโตไม่ว่าจะในอดีตหรือในปัจจุบัน นาซาได้เรียกชื่อแปลกๆของพื้นที่ที่มืดกว่าส่วนอื่นบนดาวพลูโตว่า “ปลาวาฬ” นักวิจัยกล่าวว่ามันเป็นเรื่องน่าประหลาดที่มีพื้นที่สว่างและพื้นที่มืดตัดกันบนพื้นผิวของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
สภาพอากาศบนดาวพลูโตเป็นอย่างไร ?
อุณหภูมิพื้นผิวบนดาวพลูโตมีอากาศหนาวเย็นมาก มีอุณหภูมิ ตั้งแต่ -172 ถึง -238 องศาเซลเซียส ซึ่งขึ้นอยู่กับการโคจรรอบดวงอาทิตย์ ตั้งแต่ดาวพลูโตโคจรผ่านมาใกล้โลกเราที่สุดในปี 1989 นักวิชาการสันนิฐานว่าตั้งแต่นั้นมาดาวพลูโตก็เริ่มมีอากาศที่หนาว แม้แต่คอมพิวเตอร์จำลองก็ได้คาดการณ์ว่าชั้นบรรยากาศบนดาวพลูโตอาจทำให้มีหิมะตกลงมาและหายไป “ดาวพลูโตมี วัฎจักรของชั้นบรรยากาศที่ รุนแรง หิมะลงบนพื้นผิวโลกและระเหิดกลับไปสู่ชั้นบรรยากาศ “ Alan Stern กล่าว
วิธีการส่งรูปภาพและข้อมูลถูกส่งมาบนโลก ?
การส่งรูปภาพและข้อมูลถูกมายังโลกนั้นมาช้าอย่างแน่นอน เพราะใช้ระยะทางกว่า 5 พันล้านกิโลเมตรมา และมีการส่งสัญญาณวิทยุที่สามารถส่งออกเพียง 12 วัตต์เท่านั้น นั่นหมายความว่า New Horizon มีการส่งสัญญาณผ่านระบบสุริยะที่มีพลังเทียบเท่าแค่หลอดไฟ LED ขนาดเล็ก อัตราการส่งช้าประมาณ 1 กิโลไบต์ต่อวินาที ทั้งหมดนี้หมายความว่าภาพขาวดำของดาวพลูโตจะใช้เวลาสามชั่วโมงในการส่ง และข้อมูลทั้งหมดที่ส่งจากดาวพลูโตมานั้นจะใช้ระยะเวลาทั้งหมด 16 เดือน
ที่มา
http://spaceplace.nasa.gov/solar-system-formation/en/
http://thaiastro.nectec.or.th/news/2006/special/planet_definition.html
http://www.bbc.com/news/science-environment-33531811?ocid=socialflow_facebook