มติพล ตั้งมติธรรม นักวิชาการ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT)
มติพล ตั้งมติธรรม เป็นนักวิชาการประจำศูนย์บริการวิชาการและสื่อสารทางดาราศาสตร์ (public outreach) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นทั้งเป็นคนเฝ้าดูดาวและถ่ายภาพเป็นงานอดิเรก จนเว็บไซต์ Astronomy Picture of the Day(APOD) ขององค์การ NASA ต้องขอหยิบยืมผลงานไปเผยแพร่
แม้โดยสายอาชีพ เขาคือนักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ที่มีหน้าที่หลักคือการตั้งสมมติฐานและแก้สมการให้กับทุกเรื่องที่สงสัย แต่งานประจำของขาก็ผูกโยงกับงานด้านการศึกษาอย่างเป็นเนื้อเดียวกัน ทั้งการจัดค่ายเยาวชน ชุมนุมดาราศาสตร์ จัดอบรมครู เพื่อสร้างแรงบันดาลใจละระตุ้นความสนใจทางวิทยาศาสตร์ให้แก่ทั้งเด็กและผู้ใหญ่
ก่อนจะมาเป็นนักดาราศาสตร์อย่างทุกวันนี้ประวัติศาสตร์ส่วนตัวของเขาเป็นฏิกษ์กับวิชาฟิสิกส์มาก่อน“เดิมสมัยมัธยมผมเป็นคนที่เกลียดฟิสิกส์มาก ทำข้อสอบฟิสิกส์ ม.ปลาย ไม่ได้เรื่องเลย พอเข้ามหาวิทยาลัยปี 1 ก็ได้เกรด C ตอนแรกผมอยากเป็นนักเคมีมากกว่า เพราะทำคะแนนได้ดีมาก เลยได้ทุนพสวท. (โครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) และเลือกเรียนเคมีที่จุฬาฯ แต่พอเรียนได้ปีหนึ่งก็ได้รับทุนไปต่างประเทศทำให้ต้องย้อนกลับไปเรียนไฮสคูลใหม่อีกปีหนึ่งจนกลายเป็นซูเปอร์ฟอสซิล ก่อนจะได้เรียนต่อที่มหาวิทยาลัยคอร์เนล”
ทันใดนั้น ซูเปอร์อสลอย่างมติพลก็เห็นแง่งามของฟิสิกส์
“พอมีโอกาสได้ไปเรียนอเมริกา ผมกลับค้นพบว่าจริงๆ แล้วผมไม่ได้เกลียดฟิสิกส์ แต่ผมเกลียดการรียนฟิสิกส์ตามหลักสูตร ม.ปลาย (พบกรณีเช่นนี้มากในไทย - บก.) ซึ่งมีการตัดทอนหลายๆอย่างจนแทบไม่รู้ว่าฟิสิกส์คืออะไร ตอนแรกที่อบเรียนเคมีก็เพราะว่ามันทำให้เราอธิบายสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวได้ ในขณะที่ฟิสิกส์ผมไม่เห็นว่ามันเกี่ยวข้องกับชีวิตเรายังไง แต่นั่นป็นพราะว่ามันถูกตัดทอนเสียจนไม่เห็นความเกี่ยวข้องอะไรเลย ซึ่งจริงๆแล้วถ้าเรียนให้ลึกลงไปจะพบว่าทุกอย่างมันอธิบายได้ด้วยฟิสิกส์ าเห็นท้องฟ้าเป็นสีแดงตอนดวงอาทิตย์ตกนอกจากความสวยแล้วผมสามารถบอกได้ว่าทำไมมันถึงเป็นสีแดง เพราะมันมีอนุภาคเยอะใช่หมถึงทำให้แสงกระเจิงมากกว่าปกติ ถ้าเราอธิบายได้ มันก็ทำให้เราชื่นชอบในสิ่งนั้นมากขึ้น”
ถามเขาว่างานของนักดาราศาสตร์คืออะไร“จริงๆ ต้องเรียกว่าเป็นนักทฤษฎี ลองนึกภาพเหมือนในหนังว่านักทฤษฎีทำงานยังไง อันดับแรกก็คือ มีกระดานดำกับชอล์ก แล้วก็เขียนสมการยาวๆ เสร็จแล้ว ก็เอาสมการนั้นไปใส่ในคอมพิวเตอร์ แล้วก็นั่งหน้าจอเขียนโค้ด แก้บั๊ก เพื่อทดสอบสมการนั้นกับสิ่งเราเห็นนี่คือสิ่งนักทฤษฎีทำ ฉะนั้นโดยสายอาชีพแล้วผมไม่จำเป็นต้องใช้กล้องโทรทรรศน์เลย ไม่จำเป็นต้องดูดาวเลย
“นักดาราศาสตร์ก็คือนักทยาาสตร์ ถามว่าเรียนไปทำไม ตอบได้หลายอย่าง คำตอบง่ายๆ ก็คือโลกเราทุกวันนี้มันก้าวหน้าไปด้วยนวัตกรรมมากขึ้นเรื่อยๆ นวัตกรรมพวกนี้ก็มาากวิทยาศาสตร์ แน่นอนว่าถ้าเราไม่คิดค้นอะไรใหม่ๆ มันก็ย่ำอยู่ที่เดิม ไม่ก้าวหน้าไปไหน ฉะนั้นในทุกอารยธรรม วิทยาศาสตร์มีส่วนคัญทั้งนั้น”
ถ้าเช่นนั้น เราลองถามมติพลว่า ดาราศาสตร์ให้อะไรกับชีวิต
“คำตอบหนึ่งที่ผมชอบบอกก็คือ มันเหมือนกับถามนักรวจอาง โคลัมบัส ว่า ถ้าเดินทางไปแล้วจะเจออะไร จะไปรู้ได้ยังไง ก็ในเมื่อยังไม่เคยมีใครไปถึงที่นั่น เขาจึงต้องออกเดินทางไปก่อน ถึงจะรู้ว่าะเจออะไร ฉะนั้น ถ้าถามว่านักวิทยาศาสตร์คิดค้นโน่นนี่แล้วจะได้อะไร ไม่มีใครตอบได้ แม้แต่ตอนที่ ไอน์สไตน์ คิดค้นทฤษฎีสัมพัทธาขึ้นมา ก็ยังไม่มีใครรู้หรอกว่าเอาไปทำอะไรได้
“สำหรับคำตอบส่วนตัวของผม วิทยาศาสตร์เรียนไปทำไม ผมมองว่ามันเป็นเหมือนาระน้าของมนุษย์อย่างหนึ่ง อาจไม่ใช่ทุกคน แต่เป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องทำ เราก้าวหน้ามาได้ทุกวันนี้เพราะเราพยายามสังเกตธรรมชาติและยายามะข้าใจมัน เราพยายามที่จะทำความเข้าใจสภาพจักรวาลที่เราอาศัยอยู่ตลอดเวลา ผมมองว่ามันเป็นจุดหมายปลายทางสุดท้ายของนุษชาติที่เราจะต้องเข้าใจทุกอย่างในจักรวาลสุดท้ายแล้ววิทยาศาสตร์เรียนไปทำไม ก็เพื่อที่จะเข้าใจในธรรมชาติของทุกสิ่งในจักรวาล บางนาจจะมองว่าไม่สำคัญ แต่ผมว่าสำคัญนะ”
เ มื่อ ถ า ม เ ข า ว่า ก า ร เ ข้า ใ จ จัก ร ว า ล แ ล้วจะทำให้มนุษย์เข้าใจตัวเองมากขึ้นไหม ขาตอบสั้นและระมัดระวัง ว่า “อันนี้คงเป็นคำตอบเชิงปรัชญามากกว่าแต่ส่วนตัวผมก็เชื่อว่าอย่างนั้น”