ต้นไม้และป่าเกี่ยวข้องอย่างไรกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ?
การตัดไม้ทำลายป่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งการตัดไม้ทำลายป่าฝนมีผลกระทบอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นักวิทยาศาสตร์ต่างได้ประเมินแล้วว่าการสูญเสียพื้นที่ป่าและการเปลี่ยนแปลงอันส่งผลต่อการใช้ประโยชน์ของผืนดินนั้น จะเกิดผลกระทบของการปล่อยก๊าซ CO2 เป็นสัดส่วนมากถึงร้อยละ 23 ของการปล่อยก๊าซ CO2 อันเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ หรือเท่ากับร้อยละ 17 ของผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตลอดระยะเวลา 100 ปีที่ผ่านมา
เมื่อเรายังเป็นเด็กจะถูกสอนที่โรงเรียนเสมอว่าต้นไม้ช่วยดูดซับก๊าซ CO2 จากในอากาศ ใช้พลังงานจากการสังเคราะห์แสง ดูดซับแสงอาทิตย์ และกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ในลำต้นและราก โดยที่กล่าวมานี้เป็นส่วนหนึ่งของวงจรคาร์บอน
อย่างไรก็ตาม ป่าที่สมบูรณ์แล้วไม่ได้มีความต้องการดูดซับก๊าซ CO2 จากในอากาศมากนัก เนื่องจากมันได้เติบโตเต็มที่แล้วนั้น แต่เมื่อต้นไม้แต่ละต้นตายไปและได้เน่าเปื่อยหรือถูกเผาไป ก๊าซ CO2 ที่มันได้กักเก็บไว้ในรากและลำต้นก็จะถูกปลดปล่อยออกมาอีกครั้ง
หรือจะกล่าวได้อีกในแง่ของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนั้น สิ่งสำคัญของป่าที่สมบูรณ์ไม่ใช่อยู่ที่ปริมาณ ก๊าซ CO2 ที่ป่านั้นจะลดได้จากอากาศ แต่มาจากการที่ป่านั้นเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนตามธรรมชาติ ถ้าป่านั้นถูกทำลายไปคาร์บอนปริมาณมหาศาลจะถูกปลดปล่อยออกมากลับสู่ชั้นบรรยากาศ ส่งผลให้ปริมาณของคาร์บอนเพิ่มสูงขึ้น
เมื่อเทียบป่ากับต้นไม้ที่ถูกปลูกในบริเวณที่ไม่มีต้นไม้อื่นใดอยู่มาก ต้นไม้จะดูดซับปริมาณก๊าซ CO2 ในอากาศได้มากกว่าป่า เพราะมันต้องการสารอาหารอย่างเต็มที่ในขณะที่กำลังเติบโตขึ้น จึงทำให้เข้าใจได้ว่าต้นไม้เป็นแหล่งดูดซับคาร์บอน (Carbon sinks) ที่สามารถดูดซับก๊าซ CO2 ได้มากถึงหนึ่งในสี่ของก๊าซ CO2 ที่ปลดปล่อยจากกิจกรรมของมนุษย์
ไม่ต้องสงสัยว่า ความสัมพันธ์ระหว่างต้นไม้และพื้นที่และอุณหภูมิของโลกนั้นจะซับซ้อนเกินกว่าจะตั้งคำถามที่อ้างอิงกับความสำคัญแค่เพียงว่าปริมาณก๊าซ CO2 ที่ดูดซับนั้นทำได้มาก-น้อยเท่าไหร่? ป่าถึงแม้จะดูดซับก๊าซ CO2 ได้น้อย แต่การทำลายมันกลับจะส่งผลกระทบที่แย่ยิ่งกว่ามากนัก
อ้างอิงจากบทความ How do trees and forests relate to climate change? โดย The Guardian อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.theguardian.com/environment/2011/feb/11/forests-trees-climate