นโยบายส่งเสริมบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน
Talent Mobility: นโยบายส่งเสริมบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการจัดการจากภาครัฐและสถาบันอุดมศึกษาไปปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในภาคการผลิตและบริการ
ที่มาและความสำคัญ
ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ดำเนินการร่วมกับสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินงานบูรณาการแผนงาน/ โครงการ สำหรับแผนปฏิบัติการของยุทธศาสตร์ประเทศ (Country Strategy) นั้น “การส่งเสริมบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาครัฐไปปฏิบัติงานในภาคอุตสาหกรรม” ได้ถูกกำหนดให้เป็นหนึ่งในกลยุทธ์สำคัญในข้อ 8เรื่อง“การวิจัยและพัฒนา (Research & Development)” เพื่อขับเคลื่อนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย (Growth & Competitiveness) ให้หลุดพ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลาง (Middle Income Trap) กลยุทธ์ดังกล่าวมีเป้าหมายหลัก คือ ภาคเอกชนมีบุคลากรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีศักยภาพรองรับการลงทุนวิจัยและพัฒนาและสร้างนวัตกรรมเพิ่มขึ้นอย่างเพียงพอ ก่อให้เกิดขีดความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น
คณะรัฐมนตรียังได้เห็นถึงความสำคัญในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ในปี 2558 ในหลายประเด็นสำคัญ เช่น การเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของสินค้า บริการ การค้า และการลงทุน การพัฒนาศักยภาพการแข่งขัน การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การพัฒนา/ปรับปรุงมาตรฐาน ซึ่งเงื่อนไขสำคัญหนึ่งต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นดังกล่าวข้างต้น คือ การมีบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เพียงพอทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริหารจัดการที่ดีเพื่อนำศักยภาพของบุคลกรเหล่านี้มาใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ
ปัจจุบันบริษัทเอกชนที่ดำเนินกิจการในประเทศไทยมีการจัดตั้งศูนย์วิจัย พัฒนาและนวัตกรรมมากขึ้น โดยมีการลงทุนวิจัยและพัฒนาเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ซึ่งเห็นได้จากในช่วงปี 2549 ถึงปี 2556 การลงทุนวิจัยและพัฒนาของภาคเอกชนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 260 (จาก 8,000 ล้านบาทเป็น 20,768 ล้านบาท1) อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันบุคลากรวิจัยและพัฒนาของประเทศไทยอยู่ในภาครัฐและภาค อุดมศึกษาถึงร้อยละ 64 ขณะที่ในส่วนของภาคเอกชนมีบุคลากรดังกล่าวเพียงร้อยละ 36 นอกจาก นั้นบุคลากรวิจัยและพัฒนาของภาคเอกชนส่วนใหญ่เป็นระดับนักเทคนิค ผู้ช่วยนักวิจัย และมีนักวิจัย ที่มีประสบการณ์ไม่มากนัก ดังนั้น สวทน. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงเห็นสมควรจัดให้มีโครงการ ส่งเสริมบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมจากมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยของ ภาครัฐไปปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในภาคเอกชน (Talent Mobility) จะเป็น กลไกสำคัญในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมของไทยให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น อีกทั้งเป็นการเชื่อมโยง การทำงานระหว่างภาคมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยของรัฐ ก่อให้เกิดการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนความรู้ และสร้างองค์ความรู้ใหม่ระหว่างกัน เป็นการดึงศักยภาพของนักวิจัยไทยที่กระจุกตัวอยู่ในภาค มหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยของรัฐจำนวนมากมาช่วยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมของสถาน ประกอบการภาคเอกชนอย่างเป็นรูปธรรมให้สามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน
ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.)สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ได้ดำเนินการหารือและระดมความคิดเห็นเพื่อหาแนวทางการส่งเสริมบุคลากรวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาครัฐให้สามารถไปปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในภาคการผลิตและบริการ(Talent Mobility) และกลไกส่งเสริมและสนับสนุนบุคลากรที่เป็นรูปธรรมทั้งนี้ในอนาคตสามารถที่จะพัฒนารูปแบบการส่งเสริมให้หลากหลายมากขึ้น เช่น การเคลื่อนย้ายบุคลากรจากภาคการผลิตและบริการมายังภาคอุดมศึกษาหรือหน่วยงานในภาครัฐ การเคลื่อนย้ายบุคลากรระหว่างประเทศ (cross-border mobility) ซึ่งจำเป็นต่อการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมฐานความรู้พร้อมกับการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เพิ่มรายได้ให้แก่ประเทศทั้งจากการสร้างโอกาสใหม่และขยายการผลิตในฐานเดิม
ดังนั้น สวทน. จึงได้จัดทำข้อเสนอนโยบายการส่งเสริมบุคลากรวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการจัดการ จากภาครัฐและสถาบันอุดมศึกษาไปปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในภาคการผลิตและบริการ (Talent Mobility) เป็นนโยบายเร่งด่วนของประเทศเพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนบุคลากรดังกล่าว โดยมุ่งเน้นในสาขายุทธศาสตร์ของประเทศ อาทิ เกษตรและอาหาร ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ในอุตสาหกรรม สุขภาพและการแพทย์ โลจิสติกส์และการท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มสูง เป็นต้น
วัตถุประสงค์ของนโยบาย
- ส่งเสริมให้ภาคการผลิตและบริการลงทุนทำวิจัยและพัฒนาเพิ่มขึ้นทั้งโดยบริษัทไทยและบริษัทข้ามชาติที่จะเข้ามาตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาในประเทศไทย
- สร้างอาชีพนักวิจัยและบรรเทาปัญหาการขาดแคลนบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการจัดการในภาคการผลิตและบริการ
- ส่งเสริมให้บุคลากรด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการจัดการในภาครัฐและสถาบันอุดมศึกษาได้รับประสบการณ์การทำงานเพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเองร่วมกับภาคการผลิตและบริการโดยร่วมกันทำวิจัยหรือแก้ไขปัญหาทางเทคนิคตามที่ภาคการผลิตและบริการต้องการ
- สร้างเครือข่ายความร่วมมือให้เกิดการทำงานร่วมกันอย่างเข้มแข็งระหว่างภาครัฐและสถาบันอุดมศึกษา และภาคการผลิตและบริการในการแก้ไขปัญหาทางเทคนิค การทำวิจัย การพัฒนาเทคโนโลยี และการผลิตบุคลากรวิจัยซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการสร้างขีดความสามารถทางนวัตกรรมของประเทศ
ตัวอย่างการดำเนินงานการเคลื่อนย้ยบุคลากรวิจัยในต่างประเทศ
การดำเนินงานการเคลื่อนย้ายบุคลากรวิจัยระหว่างภาคการศึกษาและภาคอุตสาหกรรมของEuropean Commission
ข้อเสนอ |
ตัวอย่างการดำเนินงาน |
---|---|
Training content and environment
|
การดำเนินการ
ตัวอย่าง อังกฤษ
|
Training supervision
|
การดำเนินงาน
ตัวอย่าง สวีเดน:
ตัวอย่าง อังกฤษ:
|
Access to inter-sectoral mobility
|
ตัวอย่าง เบลเยี่ยม:
ตัวอย่าง ฝรั่งเศส:
ตัวอย่าง อเมริกา:
ตัวอย่าง อังกฤษ:
|
Appraisal of mobility
|
การดำเนินงาน
ตัวอย่าง นอร์เวย์:
|
Permanent mobility to the other sector
|
การดำเนินงาน
ตัวอย่าง เนเธอร์แลนด์:
|
Administrative barriers and autonomy needed to overcome them
|
การดำเนินงาน
ตัวอย่าง สวีเดน:
ตัวอย่าง ฝรั่งเศส:
|
Framework conditions for academia-industry partnerships
|
การดำเนินงาน
ตัวอย่าง เดนมาร์ก:
|
Appraising institutions
|
การดำเนินงาน
ตัวอย่าง
|
SME-academia networks
|
การดำเนินงาน
ตัวอย่าง ยุโรป:
|
Funding for training academic staff
|
การดำเนินงาน
ตัวอย่าง ยุโรป:
|
ตัวอย่างการสนับสนุนค่าใช้จ่ายสำหรับบุคลากรวิจัยที่ไปปฏิบัติงานในหน่วยงานอื่น
ข้อเสนอ |
ตัวอย่างการดำเนินงาน |
สิงคโปร์ - โครงการ T-Up ของสิงคโปร์ (Technology for Enterprise Capability Upgrading Initiative) |
ให้นักวิจัย จากสถาบันวิจัย A*Star ไปทำงานที่บริษัทที่คนสิงคโปร์เป็นเจ้าของหรือมีหุ้น อย่างน้อย 30 % และมีโครงการวิจัยได้ไม่เกิน 2 ปี โดย โครงการ T-Up สนับสนุนเงินเดือนและสวัสดิการของนักวิจัย ไม่เกิน 70 % (Source: Poh-Kam Wong, Annette Singh. Public Innovation Financing Schemes in Singapore) |
ยุโรป – โครงการ Marie Curie Industry-Academia Partnerships and Pathways (IAPP) |
ส่งเสริมการเคลื่อนย้ายของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย/สถาบันวิจัยของรัฐจากประเทศสมาชิกในกลุ่ม EU ร่วมงานกับภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะ SMEs โดยจะสนับสนุนค่าแรงทั้งหมดสำหรับโครงการที่ได้รับการสนับสนุน |
ฝรั่งเศส - National Institute of Health and Medical Research (INSERM) |
จัดทำ interface programme ซึ่งเป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้นักวิจัยทำงานในโรงพยาบาล มหาวิทยาลัย และอุตสาหกรรมที่เป็นเครือข่ายกันได้เป็นระยะเวลา 3-5 ปี โดย INSERM จ่ายเงินเดือน 2/3 ในขณะที่เครือข่ายจ่ายเงินเดือน 1/3 (Source: European Commission (2006). Mobility of Researchers between Academia and Industry: 12 Practical Recommendations.) |
สเปน – โครงการ Torres Quevedo |
มุ่งส่งเสริม R&D ใน SMEs ให้เงินสนับสนุนนักวิจัย 75% ของเงินเดือนเป็นระยะเวลา 3 ปี (Source: European Commission (2006). Mobility of Researchers between Academia and Industry: 12 Practical Recommendations.) |
ความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามนโยบายส่งเสริมบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมจากมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยของภาครัฐไปปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในภาคเอกชน (Talent Mobility) ของประเทศไทย
- คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2558 เห็นชอบนโยบายส่งเสริมบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมจากมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยของภาครัฐไปปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มขีดความ สามารถการแข่งขันในภาคเอกชน (Talent Mobility) ในประเด็นดังต่อไปนี้
(1) เห็นชอบให้การปฏิบัติงานในโครงการส่งเสริมบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม จากมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยของภาครัฐไปปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในภาคเอกชน ของบุคลากรจากมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยของภาครัฐ ถือเป็นการปฏิบัติงานเต็มเวลาของ หน่วยงานต้นสังกัด โดยให้นับเป็นอายุราชการหรืออายุงานของหน่วยงานต้นสังกัด
(2) เห็นชอบให้การปฏิบัติงานในโครงการฯ ตามข้อ 1 ของบุคลากรจากมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยของภาครัฐ ที่มีข้อผูกพันตามสัญญาชดใช้ทุน นับเป็นระยะเวลาชดใช้ทุนตามสัญญาด้วย ทั้งนี้ ให้รวมถึงผู้รับทุนที่ต้องการเข้าร่วมโครงการฯ ก่อนเริ่มปฏิบัติงานในหน่วยงานต้นสังกัดสำหรับกรณีที่หน่วยงานต้นสังกัดเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ และองค์การมหาชน โดยครอบคลุมทั้งองค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 และองค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะ ที่เป็นหน่วยงานด้านวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม
(3) เห็นชอบให้บุคลากรจากมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยของภาครัฐที่เข้าร่วมโครงการฯ สามารถใช้ผลการปฏิบัติงานในภาคเอกชนในช่วงเวลาดังกล่าว เป็นผลงานในการขอตำแหน่งทางวิชาการหรือตำแหน่งงานอื่นๆ รวมทั้งการขึ้นเงินเดือน โดยให้มหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยของภาครัฐจัดทำเกณฑ์การเลื่อนตำแหน่ง การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการและการขึ้นเงินเดือนที่ชัดเจน
(4) มอบหมายให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อผลักดันการดำเนินการตามนโยบายให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด
- มีศูนย์อำนวยความสะดวก Talent Mobility (Talent Mobility Clearing House) จำนวน 4 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ดำเนินงานทั่วประเทศ ได้แก่ ภาคกลาง-มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ภาคเหนือ-มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ-มหาวิทยาลัยขอนแก่น และภาคใต้-มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อทำหน้าที่ประสานงานความต้องการบุคลากรวิจัยของสถานประกอบการกับหน่วยงานต้นสังกัด สนับสนุนการจัดทำ/ปรับปรุงกฎระเบียบหน่วยงานต้นสังกัดในการส่งเสริมนักวิจัยไปปฏิบัติงาน ในสถานประกอบการ โดยได้มีการเริ่มนำร่อง Talent Mobility ไปแล้ว อีกทั้งมีหน่วยงานอื่นๆ ที่เข้ามาร่วมขับเคลื่อนโครงการ ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยนเรศวร สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
- สร้างความตระหนักเกี่ยวกับนโยบาย Talent Mobility และกลไกที่เกี่ยวข้อง โดยจัดงาน Talent MobilityFair 2015 เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2558 ณ โรงแรมอมารี วอเตอร์เกท ประตูน้ำ กรุงเทพฯ และจัดงานTalent Mobility Fair ในภูมิภาคต่างๆ ได้แก่ Talent Mobility Fair ภาคเหนือ 2015 เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม2558 ณ โรงแรมแชงกรีล่า จังหวัดเชียงใหม่ Talent Mobility Fair ภาคใต้ 2015 เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2558 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล เฟสติวัล หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และ Talent Mobility Fair ภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือ 2015 เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2558 ณ โรงแรมเซ็นทารา แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์จังหวัดขอนแก่น ซึ่งภายในงานมีการจัดนิทรรศการนำเสนอโครงการที่ประสบความสำเร็จจากการจับคู่ความร่วมมือ และโครงการที่มาจากการนำผลงานวิจัยไปต่อยอดเพื่อแก้ปัญหาด้านการผลิต และการจัดการนวัตกรรม เป็นต้น
- เกิดการเคลื่อนย้ายนักวิจัยจากภาครัฐไปทำงานในภาคเอกชนในรูปแบบ Talent Mobility แล้วจำนวน 111 คน และผู้ช่วยวิจัย 77 คน จาก 51 โครงการ ที่มาจาก 47 บริษัท (บริษัทขนาดใหญ่ 4 บริษัทและ SME 43 บริษัท) นอกจากนั้นมี SME ได้รับการวินิจฉัยปัญหาและวิเคราะห์ความต้องการสนับสนุนด้าน วทน. แล้วจำนวน 1,125 บริษัท และปัจจุบันมีสถานประกอบการที่อยู่ระหว่างการจับคู่ จำนวน134 โครงการ และมีความต้องการนักวิจัยกว่า 300 คน2
ข้อมูลเพิ่มเติม http://talentmobility.or.th/
1ผลการสำรวจข้อมูลการวิจัยและพัฒนาของภาคเอกชน ประจำปี 556, สวทน, CEO Innovation Forum 2015, 2 มีนาคม 2558 ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิต์
2ข้อมูล ณ วันที่ 2 กันยายน 2558