You are here

มีหัวใจบนดาวพลูโต

ดาวพลูโตถูกค้นพบเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 1930 โดย ไคลด์ วิลเลียม ทอมบอ (Clyde William Tombaugh) นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน และเราได้ถือว่าดาวพลูโตเป็นหนึ่งในระบบสุริยะ จัดเป็นดาวเคราะห์เล็กและไกลจากดวงอาทิตย์มากที่สุด แต่เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2006 ที่ประชุมสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล (IAU) ที่กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก ซึ่งมีนักวิทยาศาสตร์กว่า 2,500 คน จาก 75 ประเทศทั่วโลก ได้มีการโหวตสถานภาพของดาวพลูโตอยู่ในกลุ่มของดาวเคราะห์แคระ ทำให้ระบบสุริยะเหลือดาวเคราะห์เพียง 8 ดวง เหตุที่นักดาราศาสตร์ต้องโหวตให้เป็นดาวเคราะห์แคระเนื่องจากมีการตั้งข้อกำหนดในการเป็นดาวเคราะห์อยู่ 3 ข้อ ซึ่งพลูโตไม่ผ่านหนึ่งในนั้น และ ในภายหลังมานี้นักดาราศาสตร์ได้มีการค้นพบดาวเคราะห์แคระอีกหลายดวง หากยอมให้พลูโตเป็นดาวเคราะห์  ก็จะต้องยอมให้ดาวดวงอื่นเป็นดาวเคราะห์เช่นกัน ซึ่งนั่นจะทำให้ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะเพิ่มขึ้นหลายดวง

อย่างไรก็ตาม ก่อนจะมีการถอดยศดาวพลูโตออก NASA ก็ได้สร้างและส่งยานอวกาศ New Horizon ออกไปเพื่อสำรวจและถ่ายภาพดาวพลูโตแล้ว ตั้งแต่ 19 มกราคม 2006 และมันต้องใช้เวลาเดินทางกว่า 9 ปี เพื่อจะไปให้ถึงดาวพลูโต จนกระทั่ง เมื่อวันที่ 14 กรกฏาคม 2015 ที่ผ่านมา ผู้คนทั่วโลกต่างเฝ้ารออย่างใจจดใจจ่อกับภารกิจของยาน New Horizon ลำนี้ ที่จะบินผ่านดาวพลูโตแล้วทำการถ่ายภาพด้วยเซ็นเซอร์หลายแบบที่มีอยู่บนตัวมัน  ความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นของนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรที่สำนักงานใหญ่ใน เมือง Laurel รัฐ Maryland ทุกคนลุ้นและรอคอยสัญญาณจะส่งข้อมูลมา เพราะเมื่อถ่ายเสร็จกว่าที่เราจะได้รับสัญญาณของมันครั้งแรกก็ยังต้องรอถึง 4 ชั่วโมง และแล้วก็ทุกคนก็รู้สึกโล่งอกหลังจากที่ได้รับสัญญาณเมื่อเวลา 01:52 (BST) ตามเวลาของประเทศอังกฤษ  ภารกิจครั้งนี้ถือว่าเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์โลกครั้งใหม่ที่ยานอวกาศ New Horizon ได้เดินทางผ่านดาวพลูโตและได้ถ่ายภาพดาวพลูโตในระยะที่ใกล้ที่สุดส่งกลับมาบนโลก  สัญญาณที่ได้รับจากยานอวกาสนี้ถูกส่งผ่านมายังเครื่องรับสัญญาณขนาดยักษ์ที่ตั้งอยู่ที่เมือง Madrid ประเทศสเปน

ผู้อำนวยการสูงสุดของ NASA "Charles Bolden" ได้กล่าวว่า “ในภารกิจนี้ ทำให้เราได้ไปเยือนดาวเคราะห์ทุกดวงในระบบสุริยะได้แล้ว”

ตอนนี้การสำรวจของยานอวกาศ New Horizon ได้บินผ่านดาวพลูโตสำเร็จและได้ยืนยันกับนาซ่าเป็นที่เรียบร้อย เพียงไม่กี่ภาพถ่ายจาก New Horizonที่ได้ถูกปล่อยออกมา นักวิทยาศาสตร์ต่างๆ ได้เรียนรู้เพิ่มเติมมากมายจากรูปภาพเหล่านี้มากกว่าการสังเกตเป็นปีๆ จากกล้องโทรทัศน์เหมือนแต่ก่อน

หัวใจของดาวพลูโตมีที่มาจากไหน?

กว่า 60 ปี กลุ่มนักวิทยาศาสตร์รู้ว่ามันมีมวลสารบางอย่างส่องสว่างออกมาจากดาวพลูโต แต่หลังจาก New Horizon ได้เดินทางผ่านดาวพลูโตนั้น จากการบันทึกจากกล้องของ New Horizon ได้อธิบายรายละเอียดเพิ่มเติมว่ามวลสารที่มีแสงสว่างออกมานั้นมีรูปร่างเป็นรูปหัวใจ รูปหัวใจที่ว่านี้ได้รับความสนใจจากสื่อมากทีเดียว โดยเชื่อว่ารูปร่างนี้มันมีสาเหตุที่มาจากผลกระทบบางอย่างจากประวัติศาสตร์ หัวใจฝั่งหนึ่งจะดูเรียบเนียนกว่าอีกฝั่งหนึ่ง

นักวิจัยเชื่อว่ามันเป็นแอ่งบนพื้นผิวของดาวเคราะห์ที่เต็มไปด้วยก๊าซแช่แข็งจากชั้นบรรยากาศ  ได้แก่ ก๊าซ nitrogen methane และ carbon dioxide แต่อย่างไรก็ตามสีบนรูปภาพที่นาซาได้ทำการแต่งขึ้นมาชี้ให้เห็นว่ารูปหัวใจบนดาวพลูโตนี้ถูกแบ่งออกเป็นสองข้าง สีในรูปแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของสัญลักษณ์ทางเคมีที่แตกต่างกัน สีข้างซ้ายเป็นสีครีม  ในขณะที่ด้านขวาเป็นสีฟ้าลายโมเสก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าทั้งสองส่วนมีต้นกำเนิดทางธรณีวิทยาหรือเปลืองโลกที่แตกต่างกัน

และดาวพลูโตเป็นดาวเคราะห์สีแดงหรือไม่ ?

รูปภาพในเบื้องต้นที่นาซาได้ปล่อยออกมามีสีแดง เป็นสีที่เหล่านักวิทยาศาสตร์ต่างก็รู้อยู่แล้ว แต่มันแตกต่างจากดาวเคราะห์สีแดงดวงอื่นๆมาก (อย่างดาวอังคาร) สีแดงของดาวพลูโตนี้มีแนวโน้มว่าจะเกิดจากโมเลกุลไฮโดรคาร์บอนที่เรียกว่า tholins ที่เกิดจากแสงอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์และรังสีคอสมิกมีปฏิสัมพันธ์กับก๊าซมีเทนในชั้นบรรยากาศและบนพื้นผิวของดาวพลูโต

“กระบวนการของการเกิดสีแดงบนดาวพลูโตนั้นจะเกิดขึ้นทางฝั่งที่เป็นกลางคืนเท่านั้น ที่ไม่มีแสงแดดจากดวงอาทิตย์ส่องถึง รวมถึงในฤดูหนาวที่พระอาทิตย์อยู่ต่ำกว่าเส้นขอบฟ้ามานานหลายทศวรรษ” ตามที่ Michael Summers กล่าว

ขนาดของดาวพลูโตนั้นสำคัญหรือไม่ ?

New Horizon ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับขนาดและขอบเขตของดาวพลูโตได้ถูกต้องมากขึ้น มันมีขนาดที่ใหญ่กว่านิดหน่อยจากที่ได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ประมาณ 80 กม. ทำให้มันมีขนาดถึง 2ใน3 ของดวงจันทร์ของโลก  ขนาดที่เพิ่มขึ้น หมายความว่า พื้นผิวบนดาวพลูโตมีเปอร์เซ็นที่จะเกิดจากน้ำแข็งมากกว่าที่จะเกิดจากหิน ตามที่สมาชิกในทีมภารกิจนี้ได้กล่าวไว้

 การจัดประเภทของดาวพลูโตใหม่ นั้นหมายความว่าดาวพลูโตในขณะนี้มีขนาดใหญ่กว่าดาวเคราะห์แคระ Eris ซึ่งเป็นหนึ่งในหลายร้อย หลายพันของดาวเคราะห์ขนาดเล็กและเป็นวัตถุคล้ายดาวหางโคจรห่างออกไปจากดาวเนปจูนในเขตที่เรียกว่า แถบ Kuiper

ยังมีการเคลื่อนไหวทางธรณีวิทยาบนดาวพลูโตหรือไม่?

การขาดข้อมูลของผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับแอ่งบนพื้นผิวบนดาวพลูโตที่ได้เห็นในรูปภาพรูปแรกชี้ให้เห็นว่าพื้นผิวของดาวเคราะห์แคระดวงนี้อาจเกิดขึ้นมาใหม่ ไม่ก็เกิดจากการเคลื่อนไหวทางธรณีวิทยาหรือเกิดจากการกระทำของชั้นบรรยากาศก็ได้ เช่น การกัดกร่อน เป็นต้น

หัวหน้าของภารกิจครั้งนี้ อย่าง Alan Stern ได้กล่าวว่า มันมีหลักฐานของ การเคลื่อนไหวทางธรณีวิทยา บนดาวพลูโตไม่ว่าจะในอดีตหรือในปัจจุบัน  นาซาได้เรียกชื่อแปลกๆของพื้นที่ที่มืดกว่าส่วนอื่นบนดาวพลูโตว่า “ปลาวาฬ” นักวิจัยกล่าวว่ามันเป็นเรื่องน่าประหลาดที่มีพื้นที่สว่างและพื้นที่มืดตัดกันบนพื้นผิวของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ

สภาพอากาศบนดาวพลูโตเป็นอย่างไร ?

อุณหภูมิพื้นผิวบนดาวพลูโตมีอากาศหนาวเย็นมาก มีอุณหภูมิ ตั้งแต่ -172 ถึง -238 องศาเซลเซียส ซึ่งขึ้นอยู่กับการโคจรรอบดวงอาทิตย์ ตั้งแต่ดาวพลูโตโคจรผ่านมาใกล้โลกเราที่สุดในปี 1989  นักวิชาการสันนิฐานว่าตั้งแต่นั้นมาดาวพลูโตก็เริ่มมีอากาศที่หนาว แม้แต่คอมพิวเตอร์จำลองก็ได้คาดการณ์ว่าชั้นบรรยากาศบนดาวพลูโตอาจทำให้มีหิมะตกลงมาและหายไป “ดาวพลูโตมี วัฎจักรของชั้นบรรยากาศที่ รุนแรง  หิมะลงบนพื้นผิวโลกและระเหิดกลับไปสู่ชั้นบรรยากาศ “ Alan Stern กล่าว

วิธีการส่งรูปภาพและข้อมูลถูกส่งมาบนโลก ?

การส่งรูปภาพและข้อมูลถูกมายังโลกนั้นมาช้าอย่างแน่นอน เพราะใช้ระยะทางกว่า 5 พันล้านกิโลเมตรมา และมีการส่งสัญญาณวิทยุที่สามารถส่งออกเพียง 12 วัตต์เท่านั้น นั่นหมายความว่า New Horizon มีการส่งสัญญาณผ่านระบบสุริยะที่มีพลังเทียบเท่าแค่หลอดไฟ LED ขนาดเล็ก อัตราการส่งช้าประมาณ 1 กิโลไบต์ต่อวินาที ทั้งหมดนี้หมายความว่าภาพขาวดำของดาวพลูโตจะใช้เวลาสามชั่วโมงในการส่ง และข้อมูลทั้งหมดที่ส่งจากดาวพลูโตมานั้นจะใช้ระยะเวลาทั้งหมด 16 เดือน

ที่มา

http://spaceplace.nasa.gov/solar-system-formation/en/

http://thaiastro.nectec.or.th/news/2006/special/planet_definition.html

http://www.bbc.com/news/science-environment-33531811?ocid=socialflow_facebook

http://www.bbc.com/news/science-environment-33537276