You are here

Clickbait กดมาสิ!!

ณ เวลานี้ในโลกอินเตอร์เนตมีเดียทุกคนคงจะสะดวกสบายกับการติดตามข่าวสารจากสำนักข่าวต่างๆ ที่สามารถส่งถึงเราได้โดยที่เราไม่ต้องรอฟังข่าวจากวิทยุ โทรทัศน์ หรือ SMS อีกต่อไป แค่คลิกไปในโวเชียลมีเดียหรือเวบไซท์ท่านก็จะทราบเนื้อหาในสิ่งที่ต้องการได้ อย่างไรก็ตาม การเผยแพร่ข่าวสารทางโซเชียลมีเดียหรือเวบไซต์ถือเป็นการลงทุนที่ทางสำนักข่าวจำเป็นจะต้องมีต้นทุนเพิ่มขึ้น อีกทั้งมีคู่แข่งมากขึ้นเช่นกัน ทุกสำนักข่าวย่อมต้องคิดถึงกลยุทธ์ว่าทำอย่างไรการประชาสัมพันธ์ทางอินเตอร์เนตเหล่านี้จะประสบความสำเร็จได้ หนึ่งในกลยุทธ์เพื่อประชสัมพันธ์ให้คนเข้าไปติดตามให้มากนั่นคือวิธีการ clickbait

Clickbait (อ่านออกเสียง คลิกเบท) แปลตามศัพท์คือเหยื่อล่อให้คลิก หรือคือการใช้คำโปรยพาดหัวช่าวที่ล่อให้คนกดเข้าไปดู โดยอันที่จริงไม่ได้มีเนื้อหาตรงกับที่พาดหัว หรือพาดหัวมีความเกินจริงจากเนื้อหาข่าวนั้น การหลอกล่อให้คนคลิกเข้าไปดูนี้อาจเพื่อสร้างรายได้ให้กับเวบไซต์ของสำนักข่าวด้วยจำนวนยอดคลิกจากหน้าเวบไซต์ที่มีโฆษณาแปะอยู่ ตัวอย่างของคำ clickbait ที่เรามักพบบ่อยในโซเชียลมีเดียนั้น เช่น ตะลึง!! อึ้ง!! แล้วคุณจะคาดไม่ถึง!! และ คลิกเข้าไปดูสิ!! เป็นต้น

การ clickbait ผิดพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 หรือ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ หรือไม่?

คำตอบคือ ไม่ผิด เนื่องจาก พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับปัจจุบัน ไม่ได้ครอบคลุมถึงการเอาผิดได้ทันกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ครอบคลุมถึงรูปแบบการกระทำความผิดในหลายด้าน เช่น ไม่สามารถเอาผิดกับผู้ที่ส่งอีเมล์เป็นจำนวนมากให้กับผู้อื่นได้ (Spam mail) อีกทั้ง การพาดหัวข่าวสไตล์ clickbait ไม่ได้อยู่ในความผิดต่อระบบ เช่น การปลอมแปลงไฟล์เพื่อแฝงตัวเข้ามาทำลายระบบคอมพิวเตอร์ การหลอกลวงฉ้อโกง เช่น การปลอมหน้าเว็บไซต์ว่าเป็นเว็บไซต์ของสถาบันการเงิน หรือการหมิ่นประมาทใคร แต่เป็นการใช้ความอยากรู้อยากเห็นที่เป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์สร้างผลประโยชน์กับตัวเองทั้งสิ้น

การแก้ไขปัญหานี้ เพียงแต่ท่านผู้เสพสื่อใช้วิจารณญานในการรับข่าวสารไม่หลงเชื่อกับ clickbait และสำนักข่าวควรพึงระวังถึงจรรยาบรรณในการเขียนข่าวและพาดหัวข่าวให้มีความสมบูรณ์ในตัวเอง ไม่ใช้ความอยากรู้อยากเห็นของผู้อ่านเป็นเครื่องมือ